วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มาตรวัดการมีส่วนร่วม


                     สำหรับมาตรวัดการมีส่วนร่วมนั้น  Chapin  F Staut ( อ้างใน  เธียรชัย  บูรพชนก, 2532 ) ได้สร้างแนวทางและวิธีการวัดการมีส่วนร่วมทางสังคมโดยใช้หลักและลักษณะการมีส่วนร่วมมากน้อย  ซึ่งมีการให้คะแนนมากน้อยต่างกัน  โดยถ้าเป็นสมาชิกให้  1  คะแนน  การเข้าร่วมกิจกรรม  2  คะแนน  การออกเงิน 3  คะแนน การเป็นคณะกรรม  4  คะแนน และเป็นประธานให้  5  คะแนน

วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รูปแบบของการมีส่วนร่วม


                        ไพรัตน์  เตชะรินทร์ (2527)  ได้จัดประเภทและรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาระดับต่างๆ ดังนี้
                                1.องค์กรประชาชนที่มีขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ โดยกลุ่มประชาชนที่สนใจด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม โดยมีการรวมตัวในกลุ่มขนาดเล็กเพื่อร่วมทำประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น รูปแบบอาสาสมัคร กลุ่มสตรี กลุ่มออมทรัพย์ ฯลฯ
                                2.องค์กรประชาชนที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ โดยมีการจดทะเบียนตามกฎหมายในรูปของสมาคม มูลนิธิ สหกรณ์ ซึ่งจะมีการดำเนินงานตามบทบาทและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
                                3.ตัวแทนบุคคลหรือเอกชนที่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการต่างๆ 

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความสำคัญของการมีส่วนร่วม


Hapgood, David (อ้างใน อนงค์   พัฒนจักร, 2535) ได้กล่าวถึงสาระสำคัญของการมีส่วนร่วมไว้ 3 ประการ คือ
                                 1.เป็นการให้การศึกษาแก่ประชาชน เพื่อให้นำความรู้และข้อมูลข่าวสารต่างๆ ไปสู่ประชาชนด้วนตนเอง ถือเป็นการลดช่องว่างในการสื่อสารความเข้าใจและความร่วมมือ ตลอดจนสามารถช่วยให้ประชาชนเลียนแบบ ดัดแปลงและสร้างสรรค์การพัฒนาด้วยตนเอง
                                2.เป็นการจัดโครงการพัฒนาเพื่อให้เป็นแบบจำลอง แบบฝึกหัดแก่ประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตในชนบท ในรูปแบบการสะท้อนชีวิตที่ใกล้ตัวของประชาชน จนทำให้มองเห็นถึงประโยชน์การมีส่วนร่วม

วันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความหมายของการมีส่วนร่วม


สำหรับแนวคิดการมีส่วนร่วม  (Participation )   นั้นมีมานานแล้ว  ถือเป็นหลักการพัฒนาแนวใหม่ที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยมนุษย์  ได้มีนักวิชาการและผู้รู้หลายท่านให้ความหมายไว้ดังนี้
  United  Nations  ( อ้างใน  สุพรชัย   มั่งมีสิทธิ์, 2535 )  ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมของประชาชน ว่า เป็นการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ อย่างกระตือรือร้น ทำให้มีพลัง เริ่มตั้งแต่กระบวนการตัดสินใจ เพื่อกำหนดเป้าหมายทางสังคมในการจัดการทรัพยากร เพื่อให้บรรลุเป้า-หมาย และปฏิบัติตามแผนงานโครงการต่างๆ
  ยุวัฒน์  วุฒิเมธี  (2524)  ให้ความหมายไว้ว่า เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนมาร่วมคิด ริเริ่ม ร่วมพิจารณาในการตัดสินใจ ร่วมปฏิบัติและร่วมรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ อันมีผลกระทบถึงตัวประชาชนเอง ซึ่งในการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชนบทนั้น ผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องยอมรับปรัชญาที่ว่า มนุษย์ทุกคนปรารถนาที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเป็นสุข ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม และต้องยอมรับโดยบริสุทธิ์ใจว่า มนุษย์นั้นสามารถพัฒนาได้ถ้ามีโอกาส และได้รับการชี้แนะอย่างถูกต้อง

วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนวคิดการมีส่วนร่วม


  แนวคิดการมีส่วนร่วมนั้นรัฐเริ่มมีการนำมาใช้เนื่องจากความล้มเหลวของการพัฒนาประเทศในอดีตที่ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาร่วมรับรู้  ริเริ่ม วางแผนหรือประเมินผล  ทำให้ประชาชนเฉยเมยต่อโครงการต่างๆ (ภูมิธรรม   เวชยชัย, 2528 ) และไม่มีความรู้ศึกเป็นเจ้าของ  ทำให้ผลการพัฒนาที่ผ่านมาไม่ยั่งยืน (ประพนธ์  ปิยรัตน์, 2534 )

วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แนวทางสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน


วรวิทย์  อวิรุทธ์วรกุล  (2544 : 66)  ได้กล่าวถึงแนวทางปฏิบัติในการเสริมสร้าง
การมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรชุมชนในการพัฒนาชุมชน  ดังนี้
          7.1  กิจกรรมการพัฒนาใด ๆ ของชุมชนจะต้องเริ่มจากประชาชนที่จะเป็นผู้ริเริ่มเนื่องจากเป็นผู้รู้ปัญหาของชุมชนและความต้องการของตนเองมากที่สุด
          7.2  การมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดกิจกรรมในการพัฒนาต้องอาศัย
การมีส่วนร่วมของสมาชิกของชุมชน  ในรูปองค์กรชุมชน
          7.3  ประชาชนควรมีส่วนร่วมในกิจกรรมในทุกขั้นตอนให้มากที่สุด
          7.4  ภาครัฐและภาคเอกชน  ควรส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาของประชาชน
เพื่อเพิ่มศักยภาพ  พัฒนาขีดความรู้และทักษะในการแก้ไขปัญหาของชุมชนได้
               กล่าวโดยสรุปได้ว่าการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้นมีขั้นตอนที่สำคัญ   5  ขั้น คือ
                        1)  การมีส่วนร่วมในการค้นหาสาเหตุของปัญหา
                        2)  การมีส่วนร่วมในการคิดและเสนอแนวทางการดำเนินงาน
                        3)  การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม  
                        4)  การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์  
                        5)  การมีส่วนร่วมในการประเมินผล  

วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน


สมเดช สิทธิพงศ์พิทยา (2544 : 25)  แบ่งระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็น 6 ระดับ  คือ
                                6.1  การไม่มีส่วนร่วม หมายถึง บุคคลนั้นไม่มีส่วนร่วมเลย หรืออาจมีส่วนร่วม
โดยถูกบังคับ                       
                                6.2  การมีส่วนร่วมน้อยมาก  หมายถึง  การมีส่วนร่วมที่ไม่ได้เกิดจากความสมัครใจแต่เข้าร่วมเพื่อมุ่งหวังค่าจ้างหรือรางวัลตอบแทน
                                6.3  การมีส่วนร่วมน้อย  หมาย  การร่วมรับทราบการดำเนินงานของโครงการพัฒนาต่าง ๆ โดยอาจร่วมมือและให้ความสนับสนุนบ้างบางกรณี
                                6.4  การมีส่วนร่วมปานกลาง  หมายถึง  การเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นหรือแสดงปัญหาความต้องการต่อที่ประชุมรวมถึงการถูกสัมภาษณ์
                                6.5 การมีส่วนร่วมมาก  หมายถึง  การเข้าร่วมติดสินใจ  รวมทั้งร่วมดำเนินงาน 
และประเมินผลโครงการ

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ขั้นตอนการมีส่วนร่วมของประชาชน


ส่วนของขั้นตอนการมีส่วนร่วมนั้น Cohen  and Uphoff (1977 : 38-40) ได้กล่าวว่าในการทำความเข้าใจกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น  จะต้องพิจารณาว่า
                        5.1  การมีส่วนร่วมนั้นอยู่ในขั้นตอนใด  ซึ่งการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้นประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในขั้นตอนต่างๆ ดังนี้