วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน


                        Cohen  and  Uphoff  (1977 : 7-26)  ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งเสริมในการมีส่วนร่วมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยพิจารณาเป็น 2 ประเด็น คือ
                                2.1  พิจารณากิจกรรมการมีส่วนร่วม ว่าทำอะไรบ้าง  ใครเป็นผู้นำ  และทำด้วยวิธีการอย่างไร  ซึ่ง  Cohen  and Uphoff  กล่าวว่า  การมีส่วนร่วมดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐาน  3  มิติดังนี้

                                               มิติที่  1  มีส่วนร่วมในเรื่องอะไร   จัดว่าเป็นประเภทหรือลักษณะของการมีส่วนร่วม  แยกการมีส่วนร่วมออกเป็น 4 ประเภท  คือ  การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ   การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ  การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์  และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล
                                                           มิติที่  2  ใครที่เข้ามีส่วนร่วม  กล่าวถึง  การมีส่วนร่วมของประชาชน ได้จำแนกกลุ่มบุคคลที่เข้ามามีส่วนร่วม เป็น 4  กลุ่ม  ได้แก่  ผู้ที่อยู่อาศัยในท้องถิ่น   ผู้นำท้องถิ่น   เจ้าหน้าที่ของรัฐ   และคนต่างชาติ  
                                                                                กลุ่มคนทั้ง 4  กลุ่มดังกล่าว  มีคุณลักษณะส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมที่แตกต่างกัน  โดยพิจารณาจากเพศ   อายุ  สถานภาพของครอบครัว  การศึกษา  การแบ่งกลุ่มในสังคมได้แก่  กลุ่มชนชาติเผ่า เชื้อชาติ ศาสนาที่นับถือ ชั้นวรรณะ  ภาษาที่ใช้  แหล่งกำเนิด  และอื่นๆ  อาชีพ  รายได้  ระยะเวลาที่อยู่อาศัยในชุมชน ระยะทางของที่พักกับที่ตั้งของโครงการความร่วมมือ  สถานภาพของการถือครองที่ดิน สถานภาพของการได้รับการจ้างงาน (ทำงานเต็มเวลาหรือไม่เต็มเวลา)   เป็นต้น
                                                                มิติที่  3  การมีส่วนร่วมนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไรโดยมีประเด็นที่ควรพิจารณา 4  ประเด็น คือ
                                                                                1)  พื้นฐานของการมีส่วนร่วม  พิจารณาเกี่ยวกับแรงที่กระทำให้เกิดการมีส่วนร่วม  มาจากเบื้องบนหรือเบื้องล่าง   แรงที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมมาจากที่ใด
                                                                                2)  รูปแบบของการมีส่วนร่วม  พิจารณาเกี่ยวกับรูปแบบขององค์กร    การมีส่วนร่วมโดยตรงหรือโดยอ้อม
                                                                                3)  ขอบเขตของการมีส่วนร่วม  พิจารณาเกี่ยวกับระยะเวลาที่เข้ามามีส่วนร่วม
ช่วงของกิจกรรม
                                                                                4)  ประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมพิจารณาเกี่ยวกับการให้อำนาจแก่การมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์ของคุณลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วม
                                                2.2  พิจารณาถึงบริบทของการมีส่วนร่วม  ได้แก่   คุณลักษณะของโครงการที่กระทบต่อการมีส่วนร่วมกับสภาพแวดล้อมที่กระทบต่อการมีส่วนร่วม  จำแนกออกเป็น  2  ส่วน คือ
                                    2.2.1  คุณลักษณะของโครงการที่มีผลกระทบต่อการมีส่วนร่วม  
                                   2.2.2  ผลกระทบของสิ่งนำเข้าสู่โครงการ  ได้แก่
                                    1)  ความซับซ้อนของเทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการ  เช่น โครงการที่ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนมากจะเป็นข้อจำกัดในการเข้ามามีส่วนร่วมของบางคน
                                                        2)  ทรัพยากรที่ซับซ้อนของโครงการ  เช่น  โครงการการเงินกู้ที่ให้โอกาสเฉพาะผู้ที่มีที่ดินมาค้ำประกันเงินกู้
                                    2.2.3  ผลกระทบของประโยชน์จากโครงการ ได้แก่
                                                                                1)  ผลประโยชน์ที่สัมผัสได้หรือมีตัวตนที่ให้สัมผัสได้ เช่น  โครงการชลประทานที่สามารถแจกจ่ายน้ำให้กับเกษตรกรได้ใช้ประโยชน์อย่างรวดเร็ว  จะดูเหมือนว่าเป็นสิ่งที่ประเมินได้ง่ายกว่าโครงการที่ออกแบบอย่างดี  จนมั่นใจได้ว่าจะสามารถแจกจ่ายน้ำได้แม้ในปีที่แห้งแล้ง
                                                                2)  ความเป็นไปได้ของผลประโยชน์ที่จะได้รับ โครงการที่แนะนำให้ปลูกพืชชนิดใหม่แต่มีความเสี่ยงสูง(ผลประโยชน์สูง)ย่อมจะประเมินผลได้ยากกว่าโครงการที่แนะนำให้ปลูกพืชชนิดที่มีความเสี่ยงต่ำ  (ผลประโยชน์ไม่สูง)
                                                                                             3) ผลประโยชน์ที่ได้รับทันเช่นโครงการอาหารที่ใช้วิธีการแจกอาหารเพิ่มย่อม  จะประเมินได้ง่ายกว่าการแนะนำพืชชนิดใหม่ที่ให้คุณค่าทางอาหารมากกว่า (แต่ปริมาณเท่าเดิม)
                                                                                            4)  การกระจายผลประโยชน์ (Distribution)  เช่น การให้บริการคลินิกเคลื่อนที่ซึ่งประชาชนสามารถใช้บริการได้ง่ายกว่าการให้บริการที่เป็นสากลแต่ยากที่จะเข้าใช้บริการได้
                                                                              2.2.4  ผลกระทบของการออกแบบ  ได้แก่
                                                                                             1) การเชื่องโยงโครงการเช่นโครงการพัฒนาชนบทแบบเบ็ดเสร็จ  ซึ่งมี
หลายโครงการผสมผสานกันย่อมประเมินได้ยากกว่าโครงการที่มีกิจกรรมและวัตถุประสงค์เดียว
                                                                            2)  ความยึดหยุ่นของโครงการ  เช่น โครงการก่อสร้างถนนจากฟาร์มไปสู่ตลาดที่ได้มีการเตรียมวางแผนไว้อย่างละเอียดและค่อนข้างแน่นอน ย่อมประเมินได้ง่ายกว่าโครงการยึดหยุ่นและต้องคำนึงถึงความต้องการของท้องถิ่นได้แก่ความต้องการเกี่ยวกับประเภทของถนน  สถานที่ที่จะสร้าง  รวมถึงวิธีการดำเนินงาน  เพื่อให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการที่แสดงถึงการมีส่วนร่วมนั่นเอง
                                                                                            3) ความสามารถของการเข้าถึงในแง่ของการบริหาร เช่น การมีส่วนร่วมในโครงการปรับปรุงการศึกษาของท้องถิ่น ซึ่งมีผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจหลายฝ่ายทั้งภาครัฐบาลกลางและฝ่ายท้องถิ่น การประเมินในเรื่องนี้ย่อมจะยากกว่าโครงการที่มีฝ่ายบริหารเข้ามาแทรกแซงน้อยกว่า  กล่าวคือ ปริมาณการมีส่วนร่วมจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับโครงสร้างของการบริหารโครงการ
                                                                             4)  ความครอบคลุมในแง่บริหาร   เช่น  กรณีที่มีคณะทำงานอยู่ไม่เพียงพอ  ทำให้การบริการและการติดต่อกับผู้เข้ามามีส่วนร่วมทำได้อย่างจำกัด หรือมีการติดต่ออย่างผิวเผิน
การดำเนินงานเช่นนี้ย่อมเป็นข้อขัดขวางต่อการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน
                                                2.3  ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมต่อกิจกรรมการมีส่วนร่วม  ได้แก่   ปัจจัยด้านกายภาพและชีวภาพ   ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ   ปัจจัยด้านการเมือง  ปัจจัยด้านสังคม    ปัจจัยด้านวัฒนธรรมและปัจจัยด้านประวัติความเป็นมา    
                                                นอกจากนี้  ปัจจัยที่เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในงานพัฒนา  ยังแบ่งออกได้เป็น 4  กลุ่ม  ดังต่อไปนี้  (ปาริชาติ  วลัยเสถียร  และคณะ.  2543 : 20)
                                                                                1)  ปัจจัยด้านกลไกของรัฐ  โดยรัฐต้องคำนึงการดังต่อไปนี้  คือ  การกำหนดนโยบาย  ต้องคำนึงถึงความแตกต่างของวัฒนธรรมท้องถิ่น สนับสนุนกิจกรรมที่มีความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ  สังคม วัฒนธรรม  และการเมือง การสร้างช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนโดยระบบต่างๆ ของราชการต้องเอื้ออำนวยและเพิ่มโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม  มีการติดตามประเมินผลและการสนับสนุนในภายหลัง
                                                                                2)   ปัจจัยด้านประชาชน  โดยประชาชนในชุมชน  ต้องมีความรู้  ความเข้าใจและ
มีประสบการณ์ในการทำงานพัฒนา   เป็นฝ่ายตัดสินใจ  ริเริ่มกิจกรรมและรับผลประโยชน์  เป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคมหรือเป็นผู้นำท้องถิ่น มีการติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานอื่นและได้รับการฝึกอบรม  การศึกษาดูงานและรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง
                                                                                3)  ปัจจัยด้านนักพัฒนา  โดยนักพัฒนาต้องทำหน้าที่ดังต่อไปนี้  คือ  ศึกษาชุมชนเพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานและได้เรียนรู้สภาพแวดล้อมในทุกๆ ด้านในชุมชน  มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของกระบวนการมีส่วนร่วม  ค้นหาผู้นำที่มีศักยภาพ  ซึ่งเป็นผู้ที่กระตุ้นให้ชาวบ้านแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในงานพัฒนา   รวมกลุ่มกับชาวบ้านเพื่อหาหนทางแก้ปัญหา  เป็นผู้สนับสนุนด้านศึกษา  การให้ข้อมูลข่าวสาร  วิทยาการใหม่ๆ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  มีความจริงใจและมีความผูกพันกับท้องถิ่น  เพื่อให้ประชาชนเชื่อถือและศรัทธาและดำเนินงานพัฒนาที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น
                                                                                4)            ปัจจัยจูงใจ ได้แก่ การได้รับผลประโยชน์จากการได้เข้าไปมีส่วนร่วมใน
กิจกรรมการพัฒนาและโครงการพัฒนาตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน
                                                                2.4  เงื่อนไขสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน  ประกอบด้วย  (เทศบาลนครลำปาง  เทศบาลตำบลบ้านพรุ  เทศบาลนครนนทบุรี  สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย  สมาคมสันนิบาต
เทศบาลแห่งประเทศไทย ได้แก่  ความตระหนักถึงปัญหาหรือการได้รับผลกระทบร่วมกัน   การมีผลประโยชน์ร่วมกันและการมีความสนใจร่วมกัน
                                                เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนนั้น  ยังแบ่งออกได้ ดังนี้ (อภิศักดิ์  ไฝทาคำ.   2539 : 79-80 ;  อ้างถึงใน  จุฑารัตน์  บุญานุวัตร์. 2546 : 24)
                        1)  ประชาชนต้องมีเวลา และต้องไม่เสียค่าใช้จ่ายในการมีส่วนร่วมมากเกินกว่าที่ประเมินค่าผลตอบแทนที่จะได้รับ
                        2)  ประชาชนต้องมีความสนใจที่จะสัมพันธ์กันกับการมีส่วนร่วมนั้น และสามารถสื่อสารได้เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย
                        3)  ประชาชนต้องไม่รู้สึกกระทบกระเทือนต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือสถานภาพ
ทางสังคม
                   ส่วนเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน  อันเกิดจากภาครัฐ  ได้แก่ 
สัยทัศน์ด้านการพัฒนา นโยบายแนวทางปฏิบัติ  รูปแบบโครงสร้างการบริหารจัดการ ศักยภาพของบุคลากร   กฎระเบียบและงบประมาณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น