วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความสำคัญของการมีส่วนร่วม


Hapgood, David (อ้างใน อนงค์   พัฒนจักร, 2535) ได้กล่าวถึงสาระสำคัญของการมีส่วนร่วมไว้ 3 ประการ คือ
                                 1.เป็นการให้การศึกษาแก่ประชาชน เพื่อให้นำความรู้และข้อมูลข่าวสารต่างๆ ไปสู่ประชาชนด้วนตนเอง ถือเป็นการลดช่องว่างในการสื่อสารความเข้าใจและความร่วมมือ ตลอดจนสามารถช่วยให้ประชาชนเลียนแบบ ดัดแปลงและสร้างสรรค์การพัฒนาด้วยตนเอง
                                2.เป็นการจัดโครงการพัฒนาเพื่อให้เป็นแบบจำลอง แบบฝึกหัดแก่ประชาชนในท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตในชนบท ในรูปแบบการสะท้อนชีวิตที่ใกล้ตัวของประชาชน จนทำให้มองเห็นถึงประโยชน์การมีส่วนร่วม

                               3.เป็นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยมของประชาชน ให้สอดคล้องกับการทำงานร่วมกันในรูปแบบ วิธีการ กฎเกณฑ์ ที่มีระเบียบ และมีความซับซ้อน
                             นิรันดร์  จงวุฒิเวศน์ (2527) กล่าวถึงการมีส่วนร่วมว่า มีความสำคัญในเชิงการพัฒนา เนื่องจากการมีส่วนร่วมเกิดจากแนวคิดสำคัญ 3 ประการ คือ
                                1.ทำให้เกิดความสนใจและห่วงกังวลร่วมกันของบุคคลซึ่งเห็นพ้องต้องกัน กลายเป็นความสนใจและห่วงใยร่วมกันของส่วนรวม
                                2.ทำให้เห็นภาพความเดือดร้อนและความพึงพอใจร่วมกันที่มีต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ผลักดันให้งานพุ่งไปข้างหน้าสู่การรวมกลุ่ม การวางแผนและการลงมือกระทำร่วมกัน
                                3.ทำให้มีการตกลงใจร่วมกันที่จะเปลี่ยนแปลงชุมชนไปในทิศทางที่ปรารถนา ซึ่งทั้งนี้การตัดสินใจจะต้องรุนแรงพอที่จะทำให้เกิดความคิดริเริ่ม ตอบสนองต่อความเห็นชอบของคนส่วนใหญ่เกี่ยวกับกิจกรรมนั้นๆ
                             ไพโรจน์  สุขสัมฤทธิ์ (2531)  ได้กล่าวถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในแง่ของการบริหารงานพัฒนา ดังนี้
                                1.จะช่วยให้ประชาชนยอมรับโครงการมากขึ้น เนื่องจากเป็นโครงการที่ตรงกับปัญหาและความต้องการของประชาชน
                                2.ประชาชนจะมีความรู้สึกผูกพัน รู้สึกเป็นเจ้าของโครงการนั้นมากขึ้น
                                3.การดำเนินโครงการจะราบรื่นเนื่องจากได้รับความร่วมมือจากประชาชน
                                4.โครงการจะให้ประโยชน์กับประชาชนมากขึ้น มีการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนามากขึ้น
                                5.จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถของประชาชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น