วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555

มาตรวัดการมีส่วนร่วม


                     สำหรับมาตรวัดการมีส่วนร่วมนั้น  Chapin  F Staut ( อ้างใน  เธียรชัย  บูรพชนก, 2532 ) ได้สร้างแนวทางและวิธีการวัดการมีส่วนร่วมทางสังคมโดยใช้หลักและลักษณะการมีส่วนร่วมมากน้อย  ซึ่งมีการให้คะแนนมากน้อยต่างกัน  โดยถ้าเป็นสมาชิกให้  1  คะแนน  การเข้าร่วมกิจกรรม  2  คะแนน  การออกเงิน 3  คะแนน การเป็นคณะกรรม  4  คะแนน และเป็นประธานให้  5  คะแนน

                     จากการทบทวนการมีส่วนร่วมครั้งนี้  สรุปได้ว่า  หมายถึง  กลวิธีการพัฒนาแนวใหม่ที่คำนึงถึงปัยจัยมนุษย์เป็นสำคัญ  เป็นการสร้างโอกาสให้ประชาชนเข้ามาร่วมกิจกรรม  โดยเริ่มตั้งแต่การให้โอกาสเสนอความคิดเห็น  ร่วมค้นหาปัญหา  ร่วมตัดสินใจ  ร่วมวางแผน  ร่วมดำเนินการ   ร่วมรับประโยชน์  และร่วมประเมินผล  ซึ่งจะมีความสำคัญทำให้ประชาชนได้รับการพัฒนาขีดความสามารถ  ทำให้การดำเนินงานโครงการต่างๆ  ราบรื่น  อันเนื่องมาจากประชาชนยอมรับโครงการ  มีความเป็นเจ้าของกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นจากผลการพัฒนามีความยั่งยืน  ทั้งนี้ต้องตั้งอยู่บนปรัชญาที่ว่ามนุษย์ทุกคนมีความปรารถนาที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่าสงมีความสุข  โดยมนุษย์ทุกคนสามารถพัฒนาได้ถ้าให้โอกาส  และมีการชี้แนะอย่างถูกต้อง  ในการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาการมีส่วนร่วมของแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวในการสร้างสุขภาพในพื้นที่ที่ ไม่มีโรงพยาบาลโดยใช้แนวคิดของ  Cohen  and  Uphoff   ( อ้างใน  ไพเราะ   ไตรติลานันท์ , 2534 )  โดยแบ่งระดับการมีส่วนร่วมเป็น  4  ส่วน คือ  การคิดริเริ่ม  การร่วมวางแผน   การร่วมดำเนินงาน และการร่วมในการประเมินผล  โดยจัดระดับการมีส่วนร่วมในแต่ละกิจกรรม  เป็น  4  ระดับ คือ  ไม่ได้มีส่วนร่วมเลย  มีส่วนร่วมน้อย  มีส่วนร่วมปานกลาง  และมีส่วนร่วมมาก  ทั้งนี้หาส่วนขาดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของกลุ่มแกนนำสุขภาพประจำครอบครัวดังกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น