วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

รูปแบบของการมีส่วนร่วม


                        ไพรัตน์  เตชะรินทร์ (2527)  ได้จัดประเภทและรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาระดับต่างๆ ดังนี้
                                1.องค์กรประชาชนที่มีขึ้นอย่างไม่เป็นทางการ โดยกลุ่มประชาชนที่สนใจด้านการพัฒนาชุมชนและสังคม โดยมีการรวมตัวในกลุ่มขนาดเล็กเพื่อร่วมทำประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น รูปแบบอาสาสมัคร กลุ่มสตรี กลุ่มออมทรัพย์ ฯลฯ
                                2.องค์กรประชาชนที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ โดยมีการจดทะเบียนตามกฎหมายในรูปของสมาคม มูลนิธิ สหกรณ์ ซึ่งจะมีการดำเนินงานตามบทบาทและวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
                                3.ตัวแทนบุคคลหรือเอกชนที่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการต่างๆ 

                         ส่วนไพโรจน์  สุขสัมฤทธิ์ (2531)  ได้สรุปรูปแบบการมีส่วนร่วม ว่า มี 2 ประเภทคือ
                                1.การมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงและการมีส่วนร่วมไม่แท้จริง สำหรับการมีส่วนร่วมที่แท้จริงควรเริ่มตั้งแต่การค้นหาปัญหา ร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา ร่วมหาวิธีที่แก้ปัญหา   เพื่อสร้างสรรสิ่งใหม่ๆ ร่วมวางแผนงาน โครงการ ร่วมบริหารจัดการทรัพยากร และร่วมประเมินผล
                    2.การมีส่วนร่วมที่ไม่แท้จริง ร่วมเพียงบางส่วนที่ได้กำหนดไว้ในโครงการ
                             นอกจากนี้  ไพโรจน์  สุขสัมฤทธิ์ (2531)  ยังได้จัดระดับการมีส่วนร่วมออกเป็นลำดับจากน้อยไปหามาก โดยเริ่มจากการถูกบังคับ ถูกล่อ ถูกชักชวน สัมภาษณ์แล้ววางแผน มีโอกาสแสดงความคิดเห็น มีโอกาสเสนอโครงการและตัดสินใจ
                              Cohen, John   and   Up off,  Norman ( อ้างใน  ไพเราะ  ไตรติลานันท์, (2534)  ได้แบ่งรูปแบบของการมีส่วนร่วมออกเป็น  4  ชนิด  ดังนี้
                                1.การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ( Decision  making) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ  ริเริ่มตัดสินใจ  ดำเนินการีตัดสินใจ  และตัดสินใจปฏิบัติการ
                                2.การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ (Implementation)  ประกอบด้วยการสนับสนุนในส่วนของทรัพยากร การบริหาร  และการประสานขอความร่วมมือ
                                3.การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ (Benefits)  เป็นทั้งผลประโยชน์ด้านวัตถุ  สังคมและบุคคล
                                4.การมีส่วนร่วมในการประเมินผล (Evaluation) เป็นการติดตามการดำเนินงานที่ทำไปแล้ว



                        บัญชร  แก้วส่อง (2531)  ได้สรุปประเภทและจำแนกการมีส่วนร่วมตามระดับความเข้มของการมีส่วนร่วม ไว้ดังนี้
                                1.จำแนกตามขั้นตอนการพัฒนา  คือ  ริเริ่ม วางแผน ดำเนินการรับประโยชน์และประเมินผล
                                2.จำแนกตามความเข้มของระดับการเข้าร่วม  คือ  การตัดสินใจ  ความร่วมมือ  การใช้ประโยชน์
                                3.จำแนกตามประเภทผู้มีส่วนร่วม  คือ บุคคลในท้องถิ่น   เจ้าหน้าที่รัฐ     ต่างชาติ
                                4.จำแนกตามวิถีการมีส่วนร่วม  คือ  ร่วมประชุม   ออกแรง    ลงคะแนน  หรือให้สนับสนุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น